Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียว และถั่วป่าในสกุล Vigna ชุดปี 2552
Conservation, regeneration, characterization and evaluation of mungbean and wild Vigna spp. collection Year 2009
Autores:  Sumana Ngampongsai
Veerana Sinsawat Forrer
Fongsen Yang
Suwimol Thanomsub
Arada Masari
Somjai Kowsurat
Udomwit Vaydhayakarn
Chutima Koshawatana
Sak Pengpol
Thewa Maolanon
Data:  2012-10-16
Ano:  2011
Palavras-chave:  Wild vigna
Genetic resources
Regenerate
Characterize
Evaluate
ถั่วเขียว
เชื้อพันธุกรรม
การฟื้นฟู
การจำแนก
ลักษณะทางการเกษตร
การอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรม
ถั่วป่า
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
Resumo:  This research is part of the project for conservation and utilization of field crops genetic resources of the Thai Department of Agriculture and the budget is partly supported by the Global Crop Diversity Trust of FAO. The project was conducted in 2009-2010 and aimed to conserve, regenerated, characterize and evaluate genetic resources of wild Vigna species. Being viny and indeterminate type, a total of 94 accessions from 19 species were grown in pots at Chai Nat Field Crops Research Center. The data were collected following the descriptors of IBPGR for mungbean. Photos were taken during at each stage of growth for a database management. The results showed that, given the differences in their own genetics, in situ conservation sites, soil type, microclimate and imposed threats, the morphological characteristics and agronomic traits of wild Vigna species varied dramatically. For example, terminal leaflet shapes varied from cuneate to ovate-lanceolate, ovate or deltoid. Petal colour, the typical characteristic of the subgenus Ceratotropis, varied from light to dark yellow. The number of days to first harvest varied between 49 to 122 days (average 77±18 days). For agronomic traits, the number of pod per plant was from 8 to 175 pods (average 62±42 pods). The number of seed per pod varied between 5-14 seeds (average 9±2 seeds/pod). Seed size varied between 5-82 g (average 24±14 g/1000 seeds). Seed weight per plant varied between 0.5-23 g/plant (average 8.7±6.2 g/plant) while the total seed yield was from 0.5-67.8 g (average 26±18.6 g). The morphological characteristics and agronomic traits were then recorded in a database for a sustainable and efficient use in breeding programmes. Some of these wild Vigna genetic resources were also deposited in the Thai genebank for a safety duplication.

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมพืชไร่ของกรมวิชาการเกษตร โดยได้รับงบสนับสนุนงานวิจัยส่วนหนึ่งจาก Global Crop Diversity Trust ของ FAO โครงการนี้ดำเนินการระหว่างปี 2552-2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนก และประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวและถั่วป่า ในสกุลใกล้เคียงจำนวน 94 สายพันธุ์ จาก 19 ชนิด ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทโดยปลูกในกระถาง เก็บข้อมูลตาม Mungbean Descriptors ของ IBPGR รวมทั้งถ่ายภาพของพืชในขั้นตอนการเจริญเติบโตต่างๆ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล พบว่า ลักษณะทางสันฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตรของสายพันธุ์ถั่วป่ามีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด เนื่องจากความแตกต่างของพันธุกรรม แหล่งอยู่อาศัย ชนิดของดิน สภาพภูมิอากาศและสภาพการถูกคุกคาม เช่น รูปร่างของใบแปรปรวนจากรูปลิ่ม รูปใบหอกแกมรูปไข่ จนถึงรูปไข่ หรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม สีของกลีบดอกซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ subgenus Ceratotropis แปรปรวนจากสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้ม อายุจนถึงวันเก็บเกี่ยวครั้งแรกอยู่ระหว่าง 49 ถึง 122 วัน (เฉลี่ย 77±18 วัน) สำหรับลักษณะทางการเกษตร จำนวนฝักต่อต้นอยู่ระหว่าง 8 ถึง 175 ฝัก (เฉลี่ย 62±42 ฝัก) จำนวนเมล็ดต่อฝัก 5-14 เมล็ด (เฉลี่ย 9±2 เมล็ดต่อฝัก) น้ำหนัก 1000 เมล็ดอยู่ระหว่าง 5-82 กรัม (เฉลี่ย 24±14 กรัม/1000 เมล็ด) น้ำหนักเมล็ดต่อต้นอยู่ระหว่าง 0.5-23 กรัม (เฉลี่ย 8.7±6.2กรัม) ในขณะที่น้ำหนักเมล็ดรวมอยู่ระหว่าง 0.5-67.8 กรัม (เฉลี่ย 26±18.6 กรัม) ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตรที่บันทึกนี้ ได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในการปรับปรุงพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพ เชื้อพันธุกรรมที่ทำการจำแนกและประเมินคุณค่าแล้ว บางส่วนคัดเลือกเข้าสู่โครงการปรับปรุงพันธุ์ ส่วนที่เหลือนำเข้าเก็บรักษาที่ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5190

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 2, p. 85-92

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 2, หน้า 85-92
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional